การตลาดไร้พรมแดน (Global Marketing) คือ การทำตลาดให้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก หรือ การทำประโยชน์ทางการค้าแบบไร้พรมแดน โดยมีการดำเนินงานที่แตกต่างกัน, คล้ายคลึงกัน และมีโอกาสที่จะทำคนทั่วโลกเข้าสั่งซื้อสินค้าได้ตามวัตถุประสงค์ อย่างไรก็ตาม วิวัฒนาการของ Global Marketing เริ่มตั้งแต่มีการค้าเกิดขึ้น ซึ่งการตลาดสมัยก่อนทำกันอยู่ในพื้นที่จำกัด เช่น ตามหมู่บ้าน อำเภอจังหวัด และมาสู่ระดับทั่วประเทศ จนกระทั่งกลายมาสู่การตลาดทั่วโลกหรือไร้พรมแดน มาดูลำดับของวิวัฒนาการต่อไปนี้
1.การตลาดภายในประเทศ (Domestic Marketing) การทำตลาดลักษณะนี้เน้นการทำตลาดเฉพาะภายใน ประเทศของตนเองเป็นหลัก ถึงแม้ว่ามีบริษัทต่างประเทศเข้ามาแข่งขันบ้าง แต่ก็เน้นลูกค้าที่อยู่ในประเทศ และต่อมาบางบริษัทอาจมีการตั้งสำนักงานใหญ่ขึ้น อุปสรรคและปัญหาที่ใหญ่สุดของการตลาดภายในประเทศเกิดจากการโจมตีรอบทิศทางที่ไม่อาจมองเห็น ไม่เหมือนกับการตลาดไร้พรมแดนที่สามารถมองเห็นได้ และการทำตลาดภายในประเทศไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานแต่อย่างใด เพียงแต่ระมัดระวังจากคู่แข่งขันบ้างเท่านั้น
2.การตลาดส่งสินค้าออก (Export Marketing) การทำตลาดด้วยวิธีนี้ มีสิ่งพึงกระทำอยู่หลายอย่างด้วยกัน เช่น ต้องมีเอกสารการสั่งซื้อสินค้า, การเสียค่าระวางในการส่งสินค้า ค่าขนส่ง ภาษี เป็นต้นและบางบริษัทกว่าจะดำเนินการได้ต้องผ่านอุปสรรคอีกหลายอย่าง เช่น การจ้างบริษัทอื่นให้เข้ามาบริหารจัดการ หรือประสานงานเรื่องเอกสาร ตลอดจนอุปสรรคในเรื่องของภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารด้วย ภายหลังต่อมา จึงมีการจัดสร้างหน่วยงานรับผิดชอบด้านการส่งสินค้าออกขึ้นภายในสำนักงานใหญ่นั้น
3.การตลาดนานาชาติ (International Marketing) การทำตลาดโดยการจัดตั้งแผนกรับผิดชอบด้านการส่ง ออกประสบความสำเร็จแล้ว การทำธุรกิจยังคงต้องใช้งบประมาณมากอยู่ดี เนื่องจากสาเหตุของระยะเวลาที่แตกต่างกัน อุปสรรคเรื่องภาษา ความไม่รู้ในเรื่องของ วัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ทำให้เป็นอุปสรรคขัดขวางการทำตลาดในต่างประเทศ ต่อมาจึงมีการสร้างสำนักงานขึ้นในต่างประเทศ บางบริษัทใช้วิธีซื้อสำนักงานหรือ บริษัท, สร้างร้าน, สร้างโรงงาน และสถานที่ส่วนบุคคลในต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการสร้างความสัมพันธ์ในการติดต่อสื่อสาร และรายงานการดำเนินต่าง ๆ ไปยังสำนักงานใหญ่ที่อยู่ในประเทศของตน ในลำดับต่อมามีการสร้างศูนย์กลางทางการตลาด
4.การตลาดหลายประเทศ (Multinational Marketing) การตลาดแบบนี้เป็นเป็นการทำตลาดร่วมกันกับหลาย ประเทศ บริษัทจะทำการตลาดในเรื่องเกี่ยวกับการผลิตสินค้าและการบริการไปยังหลายๆ ประเทศทั่วโลก และต้องการผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ จากนั้นก็จะทำการรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อทำการวิจัย พัฒนา ผลิตสินค้า และทำการตลาดในระดับภูมิภาคต่อไป ตัวอย่างเช่น ภูมิภาคแถบยุโรปร่วมมือกับประเทศ สหรัฐอเมริกา เป็นลักษณะของหลายประเทศรวมตัวกันเป็นหนึ่ง เพื่อร่วมกันวางแผนเกี่ยวการผลิตภัณฑ์สินค้า
5.การตลาดทั่วโลกหรือไร้พรมแดน (Global Marketing) การตลาดลักษณะนี้ถือว่า ทั่วโลกคือตลาดเดียว ดังนั้น ต้องผลิตสินค้าให้เพียงพอกับตลาดภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก การตัดสินใจทำการตลาด ต้องมีที่ปรึกษาและนักการตลาดที่มีประจำอยู่ในประเทศเหล่านั้นทั่วโลก เพื่อป้องกันผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งเป้าหมายคือ ต้องการขายสินค้าที่เหมือนกัน เป็นไปในทิศทางแนวเดียวทั่วโลก หลายบริษัทได้พัฒนาเว็บไซต์พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ขึ้นมา เพื่อให้ขายสินค้าได้ทั่วโลก ตลอด 24 ชั่วโมง
ที่มา : www.businessthai.co.th